อาชญากรรม

เจอเดลต้าสายพันธุ์ย่อย ยังไม่พบดื้อวัคซีน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวประเด็น : การเฝ้าระวังสายพันธุ์และการกลายพันธุ์โควิด 19 และสายพันธุ์ย่อยของเดลตาในไทย ว่า  เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ของรพ.รามาธิบดี  ได้วิเคราะห์สายพันธุ์ย่อยของเดลตา ซึ่งปัจจุบันเดลตาในบ้านเรา และเกือบทั่วโลก   แต่เมื่อมีการระบาดเร็ว ก็มีสายพันธุ์ย่อยๆ ขึ้นมา ซึ่งในส่วนของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็มีการตรวจเช่นกัน  แต่เมื่อติดตามอาการของการติดเชื้อจากสายพันธุ์ย่อยของเดลตา ดังกล่าว ยังไม่พบความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าที่เป้นอยู่ รวมทั้งยังไม่พบข้อมูลว่า ดื้อวัคซีนมากขึ้น ทั้งนี้ สำหรับสายพันธุ์ย่อยที่พบครั้งนี้   ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย  แต่จากการตรวจสอบ ยังมีอีกหลายประเทศ  อาทิ อังกฤษ สเปน เดนมาร์ก ก็ มีรายงานพบสายพันธุ์ย่อยของเดลตาเช่นกัน 

นพ.ศุภกิจ ยังกล่าวย้ำว่า การพบสายพันธุ์ย่อยในเดลตานั้น ไม่ใช่สายพันธุ์ไทย และไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ แต่ 4 สายพันธุ์ย่อยนี้เป็นลูกหลานของเดลตาที่พบในไทยอยู่แล้ว ซึ่งยังไม่พบความรุนแรง หรือมีผลใดๆ   โดยทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายจะติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

 

ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการที่หลากหลายประเทศมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมของโควิด ทั้งจีโนม   อย่างต่อเนื่องทุกอาทิตย์ หรือทุกเดือน  โดยประเทศไทยมีการจัดทำข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน   โดยในปัจจุบันมี 3 ล้านตัวอย่าง  จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า สายพันธุ์เดลตา มีการกลายพันธุ์หลุดออกมาถึง 60 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นเดิม จากจีโนมทั้งหมด 3 หมื่น  ซึ่งการมีกลายพันธุ์ออกไปจำนวนมาก บ่งชี้ว่ามีการแพร่ระหว่างคนสู่คนมาก 

โดยสายพันธุ์เดลตา  พบว่ามีการกระจายตัวแตกเป็นสายพันธุ์ย่อยถึง 27 สายพันธุ์ย่อย มีตั้งแต่ AY.1 ไปจนถึง AY.22    ข้อมูลที่มีการเก็บทั้งหมดจะรายงานว่า พบที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ จำนวนเท่าไหร่ เพื่อติดตามการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้ต้องติดตาม AY ต่างๆมากขึ้น อย่างสายพันธุ์ย่อย AY.4 พบมากแถวปทุมธานี  ส่วน AY.12 พบย่านพญาไท ที่เราพบบริเวณดังกล่าวเพราะมีการสุ่มบริเวณนั้น

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *